Android เวอร์ชันใหม่อาจใช้ระบบป้องกันข้อมูลแบบเดียวกับ iOS
2021.02.16
Android เวอร์ชันใหม่อาจใช้ระบบป้องกันข้อมูลแบบเดียวกับ iOS
Apple กำลังจะเปิดใช้งานฟีเจอร์ App Tracking Transparency หรือฟีเจอร์ที่ทำให้ผู้ใช้งานตัดสินใจด้วยตัวเองว่าต้องการให้แอปพลิเคชันนั้นๆ ติดตามพฤติกรรมการใช้งานของเราหรือไม่ ซึ่งดูเหมือนว่า Google เองก็กำลังตัดสินใจที่จะนำฟีเจอร์นี้มาใช้กับ Android ด้วยเช่นเดียวกัน
Bloomberg รายงานว่า Google กำลังมีแนวคิดที่จะใส่ฟีเจอร์ลักษณะเดียวกันกับของ Apple อย่าง anti-tracking feature หรือฟีเจอร์ป้องกันการติดตามพฤติกรรมการใช้งาน เพื่อจำกัดการรวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการใช้งานของเจ้าของเครื่อง เนื่องจากตอนนี้กระแส Privacy หรือความเป็นส่วนตัวกำลังบูมขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจาก Apple เริ่มเคลื่อนไหวหนักในประเด็นนี้เพื่อชูจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ
อย่างไรก็ตาม Google เองก็มีธุรกิจด้านการโฆษณาเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฟีเจอร์ป้องกันการติดตามของ Google นั้นจะเข้มข้นน้อยกว่าของ Apple โดยของ Apple นั้นจะมีเพียงสองตัวเลือกคือ ให้ติดตาม และ ไม่ให้ติดตาม ในขณะที่ของ Android จะมีการแยกระดับออกมาอีกที
ทั้งนี้ฟีเจอร์ดังกล่าวของ Android นั้นยังอยู่ในช่วงพัฒนาขั้นต้นเท่านั้น โดย Bloomberg บอกว่า Google ยังไม่ได้ตัดสินใจแน่ชัดว่าจะเปิดตัวฟีเจอร์นี้เมื่อไหร่ แต่คาดว่าอาจจะมาพร้อมกับ Android 12 ที่จะเปิดตัวในปีนี้ครับ
สำหรับฟีเจอร์ป้องกันการติดตามการใช้งานของ iOS 14 นั้น หลายฝ่ายเชื่อว่าหากเปิดใช้งานจริง ผู้ใช้งานก็น่าจะเลือกปิดการติดตามเป็นส่วนใหญ่
ที่มา Android
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข่าว
ความปลอดภัย
Oracle แจ้งลูกค้าหลังเกิดเหตุ Data Breach ทำให้ข้อมูลหลุดจากระบบ Cloud
Oracle แจ้งลูกค้าหลังเกิดเหตุ Data Breach ทำให้ข้อมูลหลุดจากระบบ Cloud
2025.04.10
ข่าว
ความปลอดภัย
มัลแวร์มือถือที่กำหนดเป้าหมายธนาคารในอินเดียทำให้ผู้ใช้กว่า 50,000 รายเสี่ยงต่อการถูกโจมตี
การโจมตีอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ นักวิจัยของ zLabs วิเคราะห์ตัวอย่างมัลแวร์เกือบ 900 ตัวอย่างและพบความพยายามร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ Android มัลแวร์ซึ่งจัดอยู่ในประเภทโทรจันของธนาคาร ปลอมตัวเป็นแอปธนาคารหรือแอปของรัฐบาลที่ถูกกฎหมายและแพร่กระจายผ่าน WhatsApp ในรูปแบบไฟล์ APK เมื่อติดตั้งแล้ว มัลแวร์จะขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
2025.03.14
ข่าว
ความปลอดภัย
แฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือตั้งเป้านักพัฒนาอิสระเพื่อหลอกลวงการทำงานด้วยมัลแวร์
นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระเป็นเป้าหมายของแคมเปญต่อเนื่องที่ใช้การล่อใจที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์งานเพื่อส่งมอบมัลแวร์ข้ามแพลตฟอร์มที่รู้จักกันในชื่อ BeaverTail และ InvisibleFerret กิจกรรมดังกล่าวซึ่งเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือมีชื่อรหัสว่า DeceptiveDevelopment ซึ่งทับซ้อนกับคลัสเตอร์ที่ติดตามภายใต้ชื่อContagious Interview (หรือCL-STA-0240 ), DEV#POPPER, Famous Chollima, PurpleBravo และ Tenacious Pungsan แคมเปญนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 เป็นอย่างน้อย บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ESET กล่าวในรายงานที่แบ่งปันกับ The Hacker News ว่า"DeceptiveDevelopment กำหนดเป้าหมายนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระผ่านการฟิชชิ่งแบบเจาะจงบนเว็บไซต์หางานและฟรีแลนซ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อขโมยกระเป๋าสตางค์สกุลเงินดิจิทัลและข้อมูลการเข้าสู่ระบบจากเบราว์เซอร์และตัวจัดการรหัสผ่าน"
2025.02.21