พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 คืออะไร ?
2021.03.09
พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 คืออะไร ?
พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 คืออะไร ?
[ อ้างอิงตาม พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 ]
“การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หมายความว่า มาตรการหรือการดำเนินการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศอันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ”
“ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หมายความว่า การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบ โดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้าย ต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง”
มีคณะกรรมการ 3คณะในการกำกับดูแล
โดยสรุปง่ายๆ คือ พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นกลไกเฝ้าระวัง ป้องกัน รับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่อาจเกิดกับระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) และส่งผลเสียหายในระดับประเทศ
โดยระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) ประกอบด้วย
– ด้านความมั่นคง
– ด้านบริการภาครัฐ
– ด้านการเงิน
– ด้านขนส่ง และโลจิสติกส์
– ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม
– ด้านพลังงาน และสาธารณูปโภค
– ด้านสาธารณสุข
บทกำหนดลงโทษ (มาตรา 69 – 76)
การนำไปใช้ในองค์กร
การนำไปปรับใช้ในองค์จำเป็นต้องคลอบคลุมทั้ง 3ด้าน People, Processes & Technology เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรของเราสามารถปฏิบัติตามข้อกฎหมายได้อย่างครบถ้วน
People : พนักงานในองค์กรต้องมีความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับพนักงาน (Cybersecurity Awareness) เช่น การดูเมลที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็น Malware หรือ Phishing Mail
Processes : ทบทวนวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร ว่ามีความสอดคล้องกับข้อกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ (Gap Analysis) อะไรบ้าง
Technology : วัดระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภาพรวมขององค์กร (Cybersecurity Health Rating) ดำเนินการตรวจสอบช่องโหว่และทดสอบเจาะระบบ (Vulnerability Assessment / Penetration Testing)
เมื่อจะต้องมีการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงของภัยคุมคามต่าง ๆ เทคโนโลยีจึงมีบทบาทที่สำคัญในการทำหน้าที่นี้ และอะไรจะมาเป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยตอบโจทย์ ให้เรา Wizberry Mobile Security ขอเป็นตัวช่วยองค์กรของท่าน Wizberry Mobile Security ถูกพัฒนาเพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการ Smart Devices ของพนักงาน เช่น การตรวจสอบสิทธิ บล็อกพฤติกรรมเสี่ยง ส่งข้อความเตือน เพิ่มปัจจัยระบุตัวตนให้มากขึ้น หรือใช้เอไอตรวจสอบแบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิที่พร้อมเกิดขึ้นตลอดเวลา รวมถึงสามารถป้องกันข้อมูลรั่วไหลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีข้อมูลหลุดรอดไปถึงผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้งาน ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาฟรี
ที่มา : พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
บทความที่เกี่ยวข้อง
กฎหมาย
ความปลอดภัย
กองทัพอิสราเอลแฮ็คเครือข่ายการสื่อสารของหอควบคุมสนามบินเบรุต
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา กองทัพอิสราเอลได้เจาะเครือข่ายการสื่อสารหอควบคุมการบินสนามบินนานาชาติ Rafic Hariri ในเบรุต ประเทศเลบานอน
2024.10.03
กฎหมาย
ข่าว
ความปลอดภัย
FBI ยึดโดเมน 32 โดเมน ที่เชื่อมโยงกับรัสเซีย เพื่อโจมตีการเลือกตั้งของสหรัฐฯ
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ประกาศว่า หน่วยงาน FBI ได้ยึดโดเมนเว็บไซต์ จำนวน 32 โดเมน ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายปฏิบัติการของรัสเซีย
2024.09.10
กฎหมาย
ข่าว
ฝรั่งเศสควบคุมตัว Pavel Durov CEO ผู้ก่อตั้ง Telegram ฐานละเมิดการควบคุมเนื้อหา
Pavel Durov ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของแอพส่งข้อความยอดนิยม Telegram ถูกจับกุมในฝรั่งเศสเมื่อวันเสาร์ ตามรายงานของเครือข่ายโทรทัศน์ TF1 ของฝรั่งเศส
2024.08.27