บริษัท a2network (Thailand) ได้เข้าร่วมงาน Cyber Defense Initiative Conference (CDIC) 2023
2023.12.14
บริษัท a2network (Thailand) ได้เข้าร่วมงาน Cyber Defense Initiative Conference (CDIC) 2023
Cyber Defense Initiative Conference (CDIC) 2023 ซึ่งปีนี้จัดงานภายใต้แนวคิด “Powering Techno-Drive in Digi-Hype Behaviour towards Digital Trust” ในรูปแบบ On-ground Conference โดยรายละเอียดงานสัมมนา CDIC 2023 วัน: 29 – 30 พฤศจิกายน 2023 เวลา: 8:30 – 17:30 น. ได้จัดที่ สถานที่: ศูนย์ประชุมและนิทรรศการ BITEC (แผนที่, BTS บางนา)
Cyber Defense Initiative Conference หรือ CDIC 2023 เป็นงานสัมมนายิ่งใหญ่ประจำปีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศที่จัดในรูปแบบ On-ground Conference โดยงานครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Powering Techno-Drive in Digi-Hype Behaviour towards Digital Trust” เมื่อถึงยุคที่ People-Process-Technology มาบรรจบรวมกันเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้งานทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล
โดยการยกระดับทุก ๆ ด้าน ทั้งยุทธศาสตร์และภาคปฏิบัติในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและแพล็ตฟอร์มมาเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลและเรียนรู้พฤติกรรมการใช้งานในยุคของการใช้บังคับกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และด้านเทคโนโลยีดิจิทัล กับการเสริมสร้างเกราะป้องกันภัยไซเบอร์และการรั่วไหลของข้อมูล สอดคล้องกับแนวทางที่ต้องมองสู่อนาคตของยุคดิจิทัลในเชิงรุก Digital Trust, Proactive Digital Experience Transformation and Digital Business Transformation, The Next of Transformational Trends and Value in IoT & IoB, The Future of Digital Security, Cybersecurity Transformation, Cyber Immunity System, New Perspectives of RegTech ฯลฯ ในยุคที่ต้องรู้ทันอาชญากรไซเบอร์ซึ่งมีความรู้ที่ล้ำหน้าอยู่เสมอ
ทาง บริษัท a2Network (Thailand ) ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดงานอีเวนต์สำคัญ Cyber Defense Initiative Conference (CDIC) 2023 ที่จัดขึ้นด้วย ซึ่งทาง a2Network เป็นผู้ให้บริการในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีของ “IBM MaaS360 with Watson” ซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 14,000 รายทั่วโลก ได้มีการเข้าร่วมงานนี้เพื่อแบ่งปันความรู้, ประสบการณ์, และนวัตกรรมที่ทันสมัย
IBM MaaS360 คือ ระบบ MDM / EMM เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับโลกธุรกิจปัจจุบัน โดยนำอุปกรณ์สมาร์ทโฟนเข้ามาใช้งานในการจัดการจากศูนย์กลาง ที่สำคัญลดความเสี่ยงการรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญในองค์กร โดย มีจุดเด่นดังต่อไปนี้
เมื่ออุปกรณ์พกพาสูญหายหรือถูกขโมย จะมีฟังก์ชันเพื่อลบข้อมูลในอุปกรณ์จากระยะไกลหรือล็อกอุปกรณ์ เมื่อเกิดการสูญหายหรือถูกขโมย นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้สูงที่อาจเกิด การรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญ หากไม่ได้ตั้งรหัสผ่านไว้ในอุปกรณ์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถบังคับใช้รหัสผ่านได้จากหน้าจอเว็บ portal ของผู้ดูแลระบบ เพื่อลดความเสี่ยงของการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญขององค์กร
ห้ามพนักงานเล่นเกมและโซเชียลในเวลางาน สามารถทำการตั้งค่าเพื่อให้พนักงานดาวน์โหลดเฉพาะแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเท่านั้น หรือตั้งค่าห้ามพนักงานใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในช่วงเวลาทำงานหรือเวลาทำงานตามเวลาและสถานที่ที่กำหนด
สามารถใช้ฟังก์ชันบัญชีดำและบัญชีขาวสำหรับการเข้าถึงเว็บไซต์ที่กำหนดโดยองค์กร ยังสามารถระบุหมวดหมู่ของ เกม โซเชียลเน็ตเวิร์ก นอกจากนี้ยังสามารถจำกัดการใช้งาน Secure Mail ในการเข้าถึงลิงก์ในอีเมลเพื่อลดความเสี่ยงจากการดาวน์โหลดไฟล์ไวรัสโดยไม่ตั้งใจ ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญขององค์กรไม่ให้ถูกส่งไปยังบริษัทคู่แข่งหรือผู้ไม่ประสงค์ดี
สามารถกำหนดนโยบายป้องกันมัลแวร์บนอุปกรณ์ iOS และ Android เมื่อพนักงานดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่สุ่มเสี่ยงในการติดมัลแวร์ สามารถบังคับให้ลบแอปพลิเคชันดังกล่าวได้ เพื่อป้องกันข้อมูลไม่ให้รั่วไหลไปยังผู้ไม่ประสงค์ดี
สามารถรองรับองค์กรที่อนุญาตให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้าถึงข้อมูลขององค์กร ได้แก่ อีเมลและการแชร์ไฟล์ข้อมูลได้อย่างปลอดภัยด้วย Workplace Persona ซึ่งจะแบ่งส่วนของการทำงานขององค์กรด้วยคอนเทนเนอร์ โดยสามารถตั้งรหัสผ่านก่อนเข้าใช้งาน สามารถลดการรั่วไหลของข้อมูลเมื่ออุปกรณ์เกิดการสูญหายได้หรือเมื่อมีพนักงานลาออก ก็สามารถลบส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจากระยะไกลได้ทันที
Mobile Enterprise Gateway ของ Wizberry ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับระบบภายในองค์กรอย่างไร้รอยต่อและปลอดภัย เพียงแค่ติดตั้ง Cloud Extender กับเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร ก็จะช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลภายในแบบ In-App VPN ได้
นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดนโยบายความปลอดภัยตามความต้องการขององค์กรของตนเองได้ เพื่อที่จะให้องค์กรสามารถจัดการบริหาร จัดสรรการบริการ เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยที่ไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
สุดท้ายนี้ทาง a2Network ได้รับประสบการณ์ที่น่าจดจำในงาน CDIC Event 2023 ครั้งนี้ การเข้าร่วมกิจกรรมนี้ไม่เพียงทำให้บริษัทได้โปรโมทโซลูชั่นอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังทำให้มีโอกาสเพื่อพัฒนาทักษะ สร้างเครือข่าย และนำเสนอนวัตกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงวงการความมั่นคงปลอดภัยได้ และทาง a2network หวังเป็นอย่างยิ่งว่างาน CDIC Event คราวหน้าจะมีโอกาสในการนำเสนอโซลูชั่นอีกครั้งหนึ่ง และขอขอบคุณผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงานทุกท่านด้วยครับ
ขอบคุณครับ
บริษัท a2network (Thailand ) จำกัด
ติดต่อ : 02-261-3020
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข่าว
ความปลอดภัย
มัลแวร์มือถือที่กำหนดเป้าหมายธนาคารในอินเดียทำให้ผู้ใช้กว่า 50,000 รายเสี่ยงต่อการถูกโจมตี
การโจมตีอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ นักวิจัยของ zLabs วิเคราะห์ตัวอย่างมัลแวร์เกือบ 900 ตัวอย่างและพบความพยายามร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ Android มัลแวร์ซึ่งจัดอยู่ในประเภทโทรจันของธนาคาร ปลอมตัวเป็นแอปธนาคารหรือแอปของรัฐบาลที่ถูกกฎหมายและแพร่กระจายผ่าน WhatsApp ในรูปแบบไฟล์ APK เมื่อติดตั้งแล้ว มัลแวร์จะขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
2025.03.14
ความปลอดภัย
โซลูชั่น
ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง MDM, EMM และ UEM
Mobile Device Management (MDM), Enterprise Mobility Management (EMM) และ Unified Endpoint Management (UEM) เป็นชื่อที่มักได้ยินบ่อยๆ ในวงการการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ คำศัพท์เหล่านี้มักจะถูกใช้แทนกันโดยองค์กรต่างๆ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว คำศัพท์เหล่านี้จะมีความสามารถในการปรับขนาดและการควบคุมที่แตกต่างกันอย่างมาก อย่างไรก็ตาม คำศัพท์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องสร้างความสับสนอย่างที่เห็น ความคล่องแคล่วทางเทคโนโลยีไม่ใช่ภาษาแม่ขององค์กรส่วนใหญ่ เว้นแต่คุณจะเชี่ยวชาญด้านนี้ แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่องค์กรทุกแห่งจำเป็นต้องส่งเสริม ดังนั้น เราจึงได้วางพื้นฐานของคำย่อด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น MDM EMM และ UEM ไว้ที่นี่ รวมถึงความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคำเหล่านี้ เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าโซลูชันการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ใดที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจของคุณ
2025.03.07
ข่าว
ความปลอดภัย
แฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือตั้งเป้านักพัฒนาอิสระเพื่อหลอกลวงการทำงานด้วยมัลแวร์
นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระเป็นเป้าหมายของแคมเปญต่อเนื่องที่ใช้การล่อใจที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์งานเพื่อส่งมอบมัลแวร์ข้ามแพลตฟอร์มที่รู้จักกันในชื่อ BeaverTail และ InvisibleFerret กิจกรรมดังกล่าวซึ่งเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือมีชื่อรหัสว่า DeceptiveDevelopment ซึ่งทับซ้อนกับคลัสเตอร์ที่ติดตามภายใต้ชื่อContagious Interview (หรือCL-STA-0240 ), DEV#POPPER, Famous Chollima, PurpleBravo และ Tenacious Pungsan แคมเปญนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 เป็นอย่างน้อย บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ESET กล่าวในรายงานที่แบ่งปันกับ The Hacker News ว่า"DeceptiveDevelopment กำหนดเป้าหมายนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระผ่านการฟิชชิ่งแบบเจาะจงบนเว็บไซต์หางานและฟรีแลนซ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อขโมยกระเป๋าสตางค์สกุลเงินดิจิทัลและข้อมูลการเข้าสู่ระบบจากเบราว์เซอร์และตัวจัดการรหัสผ่าน"
2025.02.21