จัดการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้อย่างง่ายดายด้วย e-Withholding Tax
2021.05.14
CONTENTS
e-Withholding Tax คืออะไร?
เป็นระบบใหม่ใน “โครงการยุทธศาสตร์ National e-Payment” ของรัฐบาล ซึ่งเป็นช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เสียภาษีในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยที่ทางธนาคารจะเป็นตัวกลางในการรับเงิน, หักภาษีตามยอดที่แจ้ง และนำส่งข้อมูลพร้อมเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร
ระบบนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ประกอบการในการบริหารจัดการการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้มีประสิทธิภาพและยังสะดวกสบายมากขึ้นอีกด้วย
ข้อดีของการใช้งาน e-Withholding Tax
วิธีการใช้งาน e-Withholding Tax
1. โอนชำระค่าบริการผ่านธนาคารออนไลน์ (internet banking)
– สมัครขอใช้บริการ “e-Withholding Tax” กับธนาคารของคุณและโอนชำระค่าบริการผ่านธนาคารออนไลน์ (internet banking)
– หลังจาก”ผู้จ่ายเงิน”โอนเงินเสร็จแล้ว ธนาคารจะดำเนินการโอนเงินหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับ “ผู้รับเงิน” และนำส่งข้อมูลพร้อมภาษีที่หักไว้ให้กับ “กรมสรรพากร”
*ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 จะมีให้บริการในธนาคาร 9 แห่ง ดังนี้
ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และธนาคารมิซูโฮ
*จะมีค่าธรรมเนียมในการให้บริการ เป็นไปตามที่แต่ละธนาคารกำหนด
2. ตรวจสอบรายงานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
– หลังจากการโอนเงินเสร็จสิ้น ทั้ง “ผู้จ่ายเงิน” และ “ผู้รับเงิน” สามารถเข้าไปตรวจสอบรายงานการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ตลอดเวลาในระบบ “e-Witholding Tax” บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th)
*หลังจากโอนเงินแล้วจะสามารถตรวจสอบได้ภายในวันทำการที่แต่ละธนาคารกำหนด
– นอกจากนี้ ยังสามารถยื่นแบบภาษีออนไลน์ผ่านระบบ “E-FILING” บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องส่งไปรษณีย์หรือเดินทางไปติดต่อที่กรมสรรพากร
เปลี่ยนมาใช้ e-Withholding Tax กันเถอะ!
“e-Withholding Tax” จะช่วยให้คุณสามารถจัดการภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อธนาคารหรือติดต่อเราได้ที่…
a2network (Thailand) Co.,Ltd.
689 Bhiraj Tower at Emquartier 20th Floor Room No. 2003 Sukhumvit Road Klongtonnua Wattana Bangkok 10110
Tel : 02-261-3020 Email:th-account@a2network.jp
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข่าว
ความปลอดภัย
มัลแวร์มือถือที่กำหนดเป้าหมายธนาคารในอินเดียทำให้ผู้ใช้กว่า 50,000 รายเสี่ยงต่อการถูกโจมตี
การโจมตีอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ นักวิจัยของ zLabs วิเคราะห์ตัวอย่างมัลแวร์เกือบ 900 ตัวอย่างและพบความพยายามร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ Android มัลแวร์ซึ่งจัดอยู่ในประเภทโทรจันของธนาคาร ปลอมตัวเป็นแอปธนาคารหรือแอปของรัฐบาลที่ถูกกฎหมายและแพร่กระจายผ่าน WhatsApp ในรูปแบบไฟล์ APK เมื่อติดตั้งแล้ว มัลแวร์จะขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
2025.03.14
ข่าว
ความปลอดภัย
แฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือตั้งเป้านักพัฒนาอิสระเพื่อหลอกลวงการทำงานด้วยมัลแวร์
นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระเป็นเป้าหมายของแคมเปญต่อเนื่องที่ใช้การล่อใจที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์งานเพื่อส่งมอบมัลแวร์ข้ามแพลตฟอร์มที่รู้จักกันในชื่อ BeaverTail และ InvisibleFerret กิจกรรมดังกล่าวซึ่งเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือมีชื่อรหัสว่า DeceptiveDevelopment ซึ่งทับซ้อนกับคลัสเตอร์ที่ติดตามภายใต้ชื่อContagious Interview (หรือCL-STA-0240 ), DEV#POPPER, Famous Chollima, PurpleBravo และ Tenacious Pungsan แคมเปญนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 เป็นอย่างน้อย บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ESET กล่าวในรายงานที่แบ่งปันกับ The Hacker News ว่า"DeceptiveDevelopment กำหนดเป้าหมายนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระผ่านการฟิชชิ่งแบบเจาะจงบนเว็บไซต์หางานและฟรีแลนซ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อขโมยกระเป๋าสตางค์สกุลเงินดิจิทัลและข้อมูลการเข้าสู่ระบบจากเบราว์เซอร์และตัวจัดการรหัสผ่าน"
2025.02.21
ข่าว
ความปลอดภัย
การขโมยข้อมูลของ MacOS เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว: ข้อมูลที่ถูกขโมยทำให้บริษัทต่างๆ ตกอยู่ในความเสี่ยง
“เมื่อไม่นานนี้ เราได้ระบุการโจมตีที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ใช้ macOS ในหลายภูมิภาคและอุตสาหกรรม” ทีมงาน Unit 42 กล่าว “จากการวัดระยะไกลของเราเอง เราตรวจพบว่าจำนวน infostealer macOS เพิ่มขึ้น 101% ระหว่างสองไตรมาสสุดท้ายของปี 2024” Mac ถูกกำหนดเป้าหมายอย่างไม่เลือกหน้าเพื่อเพิ่มการรวบรวมข้อมูลและศักยภาพในการสร้างรายได้สูงสุด infostealer รวบรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหลากหลายประเภท ตั้งแต่รายละเอียดทางการเงินและกระเป๋าสตางค์คริปโตไปจนถึงข้อมูลประจำตัวของบริการต่างๆ ต่อมาข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการโจมตีองค์กรต่างๆ และทำให้พวกเขาเผชิญกับความเสี่ยงที่สำคัญ รวมถึงการรั่วไหลของข้อมูลหรือการเข้าถึงเบื้องต้นเพื่อนำไปใช้งานแรนซัมแวร์
2025.02.06