ทำไม MDM (Mobile device management) ถึงตอบโจทย์การทำงานขององค์กรในยุคปัจจุบัน
2024.06.20
ทำไม MDM (Mobile device management) ถึงตอบโจทย์การทำงานขององค์กรในยุคปัจจุบัน
ในปัจจุบันในแต่ล่ะองค์กร แต่ล่ะธุรกิจ ได้มีการนำอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือรวมถึงอุปกรณ์แทปเล็ตเข้ามาใช้งานในองค์กรมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานรับส่งอีเมล์ หรือการเชื่อมต่อกับระบบการใช้งานต่างๆขององค์กรเอง ซึ่งเมื่อให้พนักงานเข้ามาใช้งานอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับข้อมูลขององค์กรแล้ว ก็จะมีปัญหาต่างๆตามมามากมายอีก ไม่ว่าจะเป็นความกังวลเรื่องความปลอดภัย เช่น เมื่อพนักงานทำโทรศัพท์หาย แล้วข้อมูลสำคัญที่อยู่ในตัวเครื่องล่ะ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการเงินขององค์กร ข้อมูลลูกค้า หรือแม้แต่ข้อมูลส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ ถ้าเกิดตัวเครื่องดันไปอยู่กับผู้ไม่ประสงค์ดี อาจจะก่อความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้ให้แก่องค์กรและเจ้าของตัวอุปกรณ์โทรศัพท์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยจะว่ากันตรงๆ ก็ยังไม่ค่อยมีการตื่นตัวกันมากนักในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลบนอุปกรณ์เหล่านี้
แล้วเจ้า MDM มันเกี่ยวยังไงกับมือถือหาย? หรือช่วยอะไรได้บ้างล่ะคำถามนี้หลายคนอาจจะยังสงสัย
คำตอบคือได้แน่นอน ซึ่งตัว MDM ทุกเจ้าจะต้องมีฟังก์ชั่นตัวนี้ Lock, Wipe ตัวอุปกรณ์ เช่นเวลาเราทำโทรศัพท์หายเราก็สั่ง Lock ตัวเครื่องก่อนแล้วส่งข้อความไปบนหน้าจอ เผื่อคนเก็บได้จะใจดีโทรกลับมาหาเราแล้วเอามาคืนให้ หรือถ้าหมดหวังคิดว่าไม่ได้คืนแล้วก็สั่ง Wipe ข้อมูลทั้งตัวเครื่องไปเลย ซึ่งคำสั่ง Wipe นี้จะเป็นการล้างข้อมูลของตัวเครื่องทั้งหมด แล้วประโยชน์ของ Wipe คืออะไรล่ะ?
แรกสุดเลยคือความอุ่นใจว่าข้อมูลของเราจะไม่ไปตกอยู่ที่ใคร เพราะข้อมูลทั้งหมดในเครื่องถูกลบไป ข้อดีอีกอย่างก็คือเมื่อได้เครื่องใหม่มาแล้วก็ง่ายในการติดตั้งและคืนค่าข้อมูลขององค์กรลงไปที่ตัวเครื่องได้สบายทั้งทีม IT และผู้ใช้งาน
นอกจากที่กล่าวมาแล้วปัญหาที่พบบ่อยของทีม IT การในจัดการอุปกรณ์เหล่านี้ในองค์กรคือ ในองค์กรมีพนักงานเยอะ ซึ่งแน่นอนจำนวนอุปกรณ์ที่มีก็ต้องเยอะตาม แล้วถ้าต้องมีการมาติดตั้ง Application ทีละเครื่องซึ่งแน่นอนว่าเป็นงานช้างเลย เพราะว่าต้องมานั่งลงทีละเครื่อง แล้วยิ่งองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาและพนักงานอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกล่ะ จะทำยังไง
ต้องบอกเลยว่า MDM จะทำเรื่องยากให้กลายเป็นง่ายขึ้นเลยหล่ะ เพราะสามารถสร้างกลุ่มของ Application หรือข้อมูลต่างๆแล้ว Deploy ไปให้กลุ่มของพนักงาน หรือทั้งหมดภายในองค์กรได้เพียงไม่กี่คลิกเท่านั้น
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นประโยชน์ของ MDM ยังมีอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น การตรวจหาตัวเครื่องได้ว่าอยู่บริเวณไหน, การจำกัดการใช้งานฟังก์ชั่นของอุปกรณ์มือถือ, การอนุญาตให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ามาใช้งานภายในองค์กรหรือที่เราเรียกกันว่า BYOD (Bring you own device), หรือแม้กระทั้งการตรวจสอบการใช้งาน internet data ของพนักงานว่าในแต่ละเดือนใช้งานไปเท่าไหร่ก็ทำได้
หากท่านเป็นเจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง หรือฝ่ายไอที อาจจะลองพิจารณาดูว่า MDM (Mobile device management) เข้ามาตอบโจทย์การทำงานขององค์กรท่านได้แค่ไหน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข่าว
ความปลอดภัย
มัลแวร์มือถือที่กำหนดเป้าหมายธนาคารในอินเดียทำให้ผู้ใช้กว่า 50,000 รายเสี่ยงต่อการถูกโจมตี
การโจมตีอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ นักวิจัยของ zLabs วิเคราะห์ตัวอย่างมัลแวร์เกือบ 900 ตัวอย่างและพบความพยายามร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ Android มัลแวร์ซึ่งจัดอยู่ในประเภทโทรจันของธนาคาร ปลอมตัวเป็นแอปธนาคารหรือแอปของรัฐบาลที่ถูกกฎหมายและแพร่กระจายผ่าน WhatsApp ในรูปแบบไฟล์ APK เมื่อติดตั้งแล้ว มัลแวร์จะขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
2025.03.14
ความปลอดภัย
โซลูชั่น
ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง MDM, EMM และ UEM
Mobile Device Management (MDM), Enterprise Mobility Management (EMM) และ Unified Endpoint Management (UEM) เป็นชื่อที่มักได้ยินบ่อยๆ ในวงการการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ คำศัพท์เหล่านี้มักจะถูกใช้แทนกันโดยองค์กรต่างๆ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว คำศัพท์เหล่านี้จะมีความสามารถในการปรับขนาดและการควบคุมที่แตกต่างกันอย่างมาก อย่างไรก็ตาม คำศัพท์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องสร้างความสับสนอย่างที่เห็น ความคล่องแคล่วทางเทคโนโลยีไม่ใช่ภาษาแม่ขององค์กรส่วนใหญ่ เว้นแต่คุณจะเชี่ยวชาญด้านนี้ แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่องค์กรทุกแห่งจำเป็นต้องส่งเสริม ดังนั้น เราจึงได้วางพื้นฐานของคำย่อด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น MDM EMM และ UEM ไว้ที่นี่ รวมถึงความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคำเหล่านี้ เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าโซลูชันการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ใดที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจของคุณ
2025.03.07
ข่าว
ความปลอดภัย
แฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือตั้งเป้านักพัฒนาอิสระเพื่อหลอกลวงการทำงานด้วยมัลแวร์
นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระเป็นเป้าหมายของแคมเปญต่อเนื่องที่ใช้การล่อใจที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์งานเพื่อส่งมอบมัลแวร์ข้ามแพลตฟอร์มที่รู้จักกันในชื่อ BeaverTail และ InvisibleFerret กิจกรรมดังกล่าวซึ่งเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือมีชื่อรหัสว่า DeceptiveDevelopment ซึ่งทับซ้อนกับคลัสเตอร์ที่ติดตามภายใต้ชื่อContagious Interview (หรือCL-STA-0240 ), DEV#POPPER, Famous Chollima, PurpleBravo และ Tenacious Pungsan แคมเปญนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 เป็นอย่างน้อย บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ESET กล่าวในรายงานที่แบ่งปันกับ The Hacker News ว่า"DeceptiveDevelopment กำหนดเป้าหมายนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระผ่านการฟิชชิ่งแบบเจาะจงบนเว็บไซต์หางานและฟรีแลนซ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อขโมยกระเป๋าสตางค์สกุลเงินดิจิทัลและข้อมูลการเข้าสู่ระบบจากเบราว์เซอร์และตัวจัดการรหัสผ่าน"
2025.02.21