ประโยชน์ของ Mobile Device Management (MDM)
2024.07.16
ประโยชน์ของ Mobile Device Management (MDM)
ปัจจุบันเทรนด์การใช้มือถือส่วนตัวร่วมกับการทำงาน (BYOD) ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน แล้วยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้องค์กรอีกด้วย ทว่ามันก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีไปซะหมดทีเดียวสำหรับหน่วยงานไอทีที่ต้องคอยจัดการความเสี่ยงที่มาจากมือถือส่วนตัวจำนวนมากเหล่านี้ เมื่อพนักงานนำมือถือส่วนตัว หรือ Laptop ส่วนตัวเชื่อมต่อเข้ากับ network ขององค์กร อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเหล่านี้สามารถควบคุมได้ ถ้ามีการจัดการอุปกรณ์ที่เหมาะสม
ทราบหรือไม่ว่าสมาร์ทโฟน หรือ แทบเล็ต ส่วนตัวมีความเสี่ยงมากกว่า Laptop หลายเท่า เพราะว่าสมาร์ทโฟน หรือ แทบเล็ต ไม่ได้รับการปกป้องแบบเดียวกับ Laptop ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีแอพพลิเคชั่น Malware protection หลากหลายให้เลือกใช้ แต่ความสามารถของมันก็เทียบไม่ได้เลยกับ Anti-virus ใน Laptop ซึ่งแปลว่าข้อมูลสำคัญของค์กรต่างๆที่อยู่ใน สมาร์ทโฟน หรือ แทบเล็ต มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีมากขึ้นไปด้วย และยิ่งเสี่ยงมากขึ้นหากอุปกรณ์ส่วนตัวเหล่านี้ไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงาน IT ขององค์กร Mobile Device Management จึงเป็นวิธีที่ง่าย และมีประสิทธิภาพในการจัดการอุปกรณ์เหล่านี้
Mobile Device Management (MDM) ใช้ทำอะไร ?
Mobile device management เป็นโซลูชันซอฟต์แวร์ของแผนกไอทีที่ช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงเครือข่ายขององค์กร และข้อมูลขององค์กร จากอุปกรณ์ส่วนตัวได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม กล่าวโดยย่อคือใช้เพื่อดูแลควบคุม และรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์พกพาของพนักงาน MDM มักใช้เป็นคำที่ครอบคลุมถึงเรื่องการจัดการแอปพลิเคชันมือถือ การจัดการเนื้อหาบนอุปกรณ์มือถือ และ การจัดการการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการส่ง-แลกเปลี่ยนข้ออมูล
เป้าหมายของ Mobile device management คือการทำให้อุปกรณ์เคลื่อนที่มีความปลอดภัย และใช้งานได้สะดวกที่สุดในขณะเดียวกันก็ปกป้องเครือข่ายขององค์กร นอกจากนี้ยังช่วยตอบคำถามที่มักพบบ่อยๆ
“จะเกิดอะไรขึ้น” หากพนักงานลาออก จะเกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลขององค์กรที่อยู่ในอุปกรณ์ส่วนตัวของพวกเขา จะเกิดอะไรขึ้นหากอุปกรณ์สูญหาย หรือ ถูกขโมย? จะจัดการกับข้อมูลที่บันทึกไว้ในสมาร์ทโฟนของพวกเขาอย่างไร หรือเลือกที่จะล้างข้อมูล?
MDM ประกอบด้วยสองส่วน:
-Endpoint software ที่เรียกว่า MDM agent
-เซิร์ฟเวอร์ MDM ที่เป็นแบบ on-premises หรือ on cloud
หน่วยงานไอทีจะใช้คอนโซลของ MDM เพื่อกำหนดค่า Security Policy ต่างๆจากนั้นเซิร์ฟเวอร์ MDM จะส่ง Security Policyเหล่านั้นไปยัง MDM agent ที่อุปกรณ์หลังจากนั้น MDM agent จะดำเนินการตาม Security Policy ที่ได้รับโดยการสื่อสารกับ API บนระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ หน่วยงานไอทียังสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ MDM เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ที่มีอยู่หลายๆเครื่องพร้อมกันได้อีกด้วย
ทำไม Mobile Device Manage (MDM) นั้นถึงสำคัญ ?
Mobile device management มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวิธีเดียวที่แน่นอนสำหรับหน่วยงานไอทีในการตรวจสอบ และจัดการอุปกรณ์พกพาต่างๆในองค์กรได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยโซลูชั่นอื่นๆเพิ่มเติม
หากไม่มี Mobile device management ความเสี่ยงของข้อมูลองค์กรในอุปกรณ์พกพาจะมีความเสี่ยงมากขึ้น และจะง่ายต่อการถูกโจรกรรมรวมถึงมัลแวร์และไวรัสอื่นๆ หากองค์กรตกเป็นเหยื่อของการละเมิดข้อมูลเนื่องจากการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ผิดพลาดค่าใช้จ่ายด้านไอทีอาจจะพุ่งสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัว
หน่วยงานไอทีไม่เพียงใช้ MDM แต่เพื่อให้เท่าทันกับการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนตัวของพนักงานในองค์กรเท่านั้น แต่เพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ล่าสุดอีกด้วย เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นต้น เมื่อการทำงานแบบ Remote work เป็นที่นิยมมากขึ้นเราก็ต้องพึ่งพาอุปกรณ์พกพามากขึ้นไปอีก อุปกรณ์เหล่านี้จึงตกเป็นเป้าโจมจีของแฮกเกอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การลงทุนเพื่อจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องจึงไม่ควรถูกมองข้ามอีกต่อไป
ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรคำนึงถึงเมื่อต้องตัดสินใจเลือก Mobile Device Management (MDM)
6 ประโยชน์ของ Mobile Device Management (MDM)
1. ง่ายต่อการจัดการจากระยะไกล
ประโยชน์หลักของ Mobile device management คือช่วยให้หน่วยงานไอทีสามารถตรวจสอบ และจัดการอุปกรณ์พกพาได้จากทุกที่ การจัดการระยะไกลยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยของเครือข่ายองค์กรโดยทำให้สามารถตัดการเชื่อมต่อการใช้งานจากผู้ใช้บางรายได้ แม้ว่าผู้ใช้ดังกล่าวจะไม่ได้อยู่ในองค์กรก็ตาม
2. ช่วยสนับสนุนการใช้อุปกรณ์ส่วนตัวร่วมกับการทำงาน (BYOD)
ประโยชน์ที่สำคัญอันดับสองของ MDM คือช่วยในการจัดการ BYOD ได้อย่างเหมาะสม รูปแบบการจัดการแบบดั้งเดิมจะไม่อนุญาตให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวเชื่อมต่อเข้ากับระบบขององค์กรได้ ทว่าปัจจุบันพนักงานคนหนึ่งอาจพกอุปกร์ 2-3 อย่างซึ่งนำมาจากที่บ้าน
Mobile device management เข้าใจดีว่าไม่ใช่อุปกรณ์ส่วนตัวทั้งหมดที่เป็นภัยคุกคาม และช่วยให้ หน่วยงานไอทีคอยจับตาดูอุปกรณ์เหล่านั้นเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความปลอดภัย และความยืดหยุ่น ด้วย ด้วย MDM องค์กรต่างๆไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างความปลอดภัยของเครือข่าย หรือ สรีภาพของพนักงาน
3. ควบคุมการอัพเดตของอุปกรณ์
พนักงานส่วนมากอาจจะเปิดการอัปเดตซอฟต์แวร์อัตโนมัติเอาไว้ ทว่าก็มีพนักงานบางรายที่ดูจะใจเย็นเกินไปเกี่ยวกับการอัปเดต ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยโดยรวมของเครือข่ายองค์กรด้วยการทำเช่นนั้น แฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่ถูกทิ้งไว้โดยการไม่ได้อัปเดต หรือ แพตช์ไม่เพียงพอเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับ
Mobile device management ช่วยให้หน่วยงานไอทีสามารถควบคุมการอัปเดตจากส่วนกลาง และสามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าระบบบนอุปกรณ์ทั่วทั้งเครือข่ายได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง ฟังก์ชันนี้ยังอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐบาล เช่น ข้อกำหนด patch management ของ HIPAA สำหรับองค์กรด้านการดูแลสุขภาพ หรือ ข้อกำหนดของ ธปท. สำหรับสถาบันการเงิน
4. เพิ่มความปลอดภัยของเครือข่ายองค์กร
MDM มีความสำคัญต่อการเพิ่มความปลอดภัยของเครือข่ายองค์กร ส่วนใหญ่เกิดจากความสามารถในการอัปเดตอัตโนมัติ และคุณลักษณะด้านความปลอดภัยที่กล่าวมาในบทความ ด้วย MDM หน่วยงานไอทีสามารถใช้การอัปเดตในอุปกรณ์หลายร้อยเครื่องพร้มอกัน หรือ เข้ารหัสข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร และสร้างกำแพงกั้นระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลบริษัท
นอกจากนี้ความสามารถในการจัดการจากระยะไกลของ MDM ยังช่วยให้การรับมือต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดง่ายขึ้นอีกด้วย ลองนึกภาพพนักงานกลับจากงานสัมมนาทางเทคโนโลยี และไม่รู้ว่าพวกเขาทิ้งโทรศัพท์ที่ทำงานไว้ที่ล็อบบี้ของโรงแรมจนกว่าพวกเขาจะใช้เวลาเดินทางสามชั่วโมงในเที่ยวบินแปดชั่วโมง แพลตฟอร์มMobile device management สามารถ ค้นหา ล็อก และล้างข้อมูลจากอุปกรณ์ได้จากระยะไกลเพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนในกรณีที่สูญหายหรือถูกขโมย
5. ลดงานด้าน IT admin
เมื่อหน่วยงานไอทีใช้แพลตฟอร์ม Mobile device management จะลดความต้องการการดูแลระบบไอทีลงอย่างมาก เนื่องจาก MDM ดำเนินการโดยอัตโนมัติในกระบวนการที่ใช้เวลามาก และใช้แรงงานจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอุปกรณ์พกพาทั้งหมด ทรัพยากรและกำลังคนจึงมีอิสระสำหรับโครงการที่ซับซ้อน หรือ เกิดประโยชน์กับองค์กรอื่นๆ
6. ปรับปรุงการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
การดำเนินงานตามมาตรฐาน และแนวทางด้านไอทีมีความสำคัญสูงสุดต่อหน่วยงานไอที อย่างไรก็ตามอาจเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดเป็นไปตามข้อกำหนดเมื่อมีอุปกรณ์มากมายให้ติดตาม ด้วย Mobile device management สามารตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้จากคอนโซลเดียวซึ่งอำนวยความสะดวกในการป้องกันที่ดีขึ้น และช่วยให้เป็นไปตามที่ข้อกฎหมายกำหนด
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของ Mobile device management หรือการนำไปปรับใช้ในองค์กรของคุณติดต่อเราตอนนี้รับคำปรึกษาฟรี พร้อมทดลองใช้งานฟรี Wizberry Mobile Security
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ wizberry@a2network.jp
ติดต่อ : 02-261-3020 , 062-590-1693
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข่าว
ความปลอดภัย
มัลแวร์มือถือที่กำหนดเป้าหมายธนาคารในอินเดียทำให้ผู้ใช้กว่า 50,000 รายเสี่ยงต่อการถูกโจมตี
การโจมตีอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ นักวิจัยของ zLabs วิเคราะห์ตัวอย่างมัลแวร์เกือบ 900 ตัวอย่างและพบความพยายามร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ Android มัลแวร์ซึ่งจัดอยู่ในประเภทโทรจันของธนาคาร ปลอมตัวเป็นแอปธนาคารหรือแอปของรัฐบาลที่ถูกกฎหมายและแพร่กระจายผ่าน WhatsApp ในรูปแบบไฟล์ APK เมื่อติดตั้งแล้ว มัลแวร์จะขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
2025.03.14
ความปลอดภัย
โซลูชั่น
ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง MDM, EMM และ UEM
Mobile Device Management (MDM), Enterprise Mobility Management (EMM) และ Unified Endpoint Management (UEM) เป็นชื่อที่มักได้ยินบ่อยๆ ในวงการการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ คำศัพท์เหล่านี้มักจะถูกใช้แทนกันโดยองค์กรต่างๆ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว คำศัพท์เหล่านี้จะมีความสามารถในการปรับขนาดและการควบคุมที่แตกต่างกันอย่างมาก อย่างไรก็ตาม คำศัพท์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องสร้างความสับสนอย่างที่เห็น ความคล่องแคล่วทางเทคโนโลยีไม่ใช่ภาษาแม่ขององค์กรส่วนใหญ่ เว้นแต่คุณจะเชี่ยวชาญด้านนี้ แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่องค์กรทุกแห่งจำเป็นต้องส่งเสริม ดังนั้น เราจึงได้วางพื้นฐานของคำย่อด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น MDM EMM และ UEM ไว้ที่นี่ รวมถึงความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคำเหล่านี้ เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าโซลูชันการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ใดที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจของคุณ
2025.03.07
ข่าว
ความปลอดภัย
แฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือตั้งเป้านักพัฒนาอิสระเพื่อหลอกลวงการทำงานด้วยมัลแวร์
นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระเป็นเป้าหมายของแคมเปญต่อเนื่องที่ใช้การล่อใจที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์งานเพื่อส่งมอบมัลแวร์ข้ามแพลตฟอร์มที่รู้จักกันในชื่อ BeaverTail และ InvisibleFerret กิจกรรมดังกล่าวซึ่งเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือมีชื่อรหัสว่า DeceptiveDevelopment ซึ่งทับซ้อนกับคลัสเตอร์ที่ติดตามภายใต้ชื่อContagious Interview (หรือCL-STA-0240 ), DEV#POPPER, Famous Chollima, PurpleBravo และ Tenacious Pungsan แคมเปญนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 เป็นอย่างน้อย บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ESET กล่าวในรายงานที่แบ่งปันกับ The Hacker News ว่า"DeceptiveDevelopment กำหนดเป้าหมายนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระผ่านการฟิชชิ่งแบบเจาะจงบนเว็บไซต์หางานและฟรีแลนซ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อขโมยกระเป๋าสตางค์สกุลเงินดิจิทัลและข้อมูลการเข้าสู่ระบบจากเบราว์เซอร์และตัวจัดการรหัสผ่าน"
2025.02.21